messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์ info_outline ข้อมูลการติดต่อ

อบต.พระเสาร์
 อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

Phrasao (SAO) 

 

 

 

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
place ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์ ได้ยกฐานะมาจากสภาตำบลพระเสาร์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนพิเศษ 52 ง หน้า 207 ลำดับที่ 2058 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มีผลในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กและได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2551 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์ 1. สภาพทั่วไป และข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1.1 ที่ตั้ง ตำบลพระเสาร์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอมหาชนะชัย ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอมหาชนะชัย 13 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดยโสธร 57 กิโลเมตร โดยมีขอบเขตติดพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ 1.1.1 ทิศเหนือ ติดต่อเขตตำบลค้อใหญ่ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด 1.1.2 ทิศใต้ ติดต่อเขตตำบลหัวเมืองและตำบลคูเมือง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร 1.1.3 ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลคำไฮ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด 1.1.4 ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลคลีกลิ้ง กิ่งอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ 1.2 เนื้อที่ เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 35 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 21,875 ไร่ ซึ่งมีความหนาแน่นของประชากร ชาย - หญิง 123 คน / ตารางกิโลเมตร 1.3 ภูมิประเทศ มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่ตำบลเป็นที่ราบสลับที่ดอน มีที่ราบลุ่มร่องน้ำเซาะ เหมาะแก่การทำการเกษตร ตำบลพระเสาร์มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1 แห่ง มีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ส่วนมากเป็นป่าไม้ยางนา และไม้อื่น ๆ 1.4 ประชากร ปี 2557 ประชากรทั้งสิ้น 4,300 คน แยกเป็น ชาย 2,168 คน หญิง 2,132 คน มีความ หนาแน่น 123 คน / ตารางกิโลเมตร จำนวนครัวเรือน 1,030 ครัวเรือน ( ดังตารางต่อไปนี้)
แผนที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์

จำนวนครัวเรือน 1,030 ครัวเรือน ( ดังตารางต่อไปนี้)

1. สภาพทั่วไป
1.5 ท้องถิ่นอื่นในตำบล - จำนวนเทศบาล - แห่ง - จำนวนสุขาภิบาล - แห่ง 1.6 เขตการปกครอง ในเขต อบต. ทั้งหมด 10 หมู่ ดังนี้
เขตการปกครอง

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2.1 การคมนาคม มีเส้นทางหรือถนนติดต่อถึงอำเภอ จำนวน 2 เส้นทาง ระยะห่างจากอำเภอประมาณ 13 กิโลเมตร ลักษณะเป็นลาดยาง ถนนระหว่างหมู่บ้านเป็นลาดยางและลูกรัง ส่วนถนนภายในหมู่บ้านส่วนมากเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและถนนดินผสมลูกรัง 2.2 การโทรคมนาคม - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขประจำตำบล 1 แห่ง - สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ - แห่ง 2.3 การไฟฟ้า - ไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้านและประชากรใช้ไฟฟ้าทุกครัวเรือน 2.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ - ลำน้ำ , ลำห้วย 1 สาย - บึง , หนองและอื่น ๆ 13 แห่ง 2.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - บ่อน้ำโยกมือ 21 แห่ง - สระน้ำ 7 แห่ง - ประปาหมู่บ้าน 10 แห่ง 3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ - มีป่าสงวนแห่งชาติ 1 แห่ง มีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ส่วนมากเป็นป่าไม้ยางนาและไม้อื่น ๆ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ วัดพระธาตุบุญตา ศูนย์อนุรักษ์สัตว์ป่า(ดงลิงบ้านปลาปึ่ง) วัดป่าหนองบัวแดง 4. ด้านเศรษฐกิจ 4.1 อาชีพ ( แสดงอาชีพของประชากรในเขต อบต. ) ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการทำนา รองลงมาคือเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชสวนครัว รับจ้างทั่วไป และการทำหัตถกรรมในครัวเรือน 4.2 หน่วยธุรกิจในเขต อบต. - ธนาคาร - แห่ง - โรงสี 35 แห่ง - ปั๊มน้ำมัน 6 แห่ง ( รวมปั๊มหลอด ) - อู่ซ่อมรถ 4 แห่ง - ร้านขายก๊าซหุงต้ม 5 แห่ง - ร้านค้า 36 แห่ง 5. ด้านสังคม การเมืองและการบริหาร 5.1 การศึกษา - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (3 – 5 ขวบ) 3 แห่ง - ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด 1 แห่ง - โรงเรียนขยายโอกาส 1 แห่ง - โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 7 แห่ง 5.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด 9 แห่ง - สำนักสงฆ์ 2 แห่ง - มัสยิด - แห่ง - ศาลเจ้า - แห่ง - โบสถ์ - แห่ง 5.3 การสาธารณสุข - โรงพยาบาลของรัฐขนาด - เตียง จำนวน - แห่ง - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบล / หมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง - สถานพยาบาลเอกชน จำนวน - แห่ง - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 1 แห่ง - อัตราการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 5.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - สถานีตำรวจชุมชนประจำตำบล 1 แห่ง - สถานีดับเพลิง - แห่ง 5.5 มวลชนจัดตั้ง - ลูกเสือชาวบ้าน 5 รุ่น 750 คน - หมู่บ้าน อพป. 1 รุ่น 15 คน - กลุ่มเกษตรกร 14 กลุ่ม 350 คน - กลุ่ม อปพร. 1 กลุ่ม 52 คน 5.6 วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ประเพณีของท้องถิ่น มีการดำเนินการทุกเดือนตามฮีตสิบสอง ครองสิบสี่ 5.7 สรุปผลการจัดเก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตของครัวเรือน ระดับตำบล ปี 2557
สรุปผลการจัดเก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตของครัวเรือน


ตัวชี้วัด

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
6. การเมืองและการบริหาร 6.1 คณะผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์