messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์ info_outline ข้อมูลการติดต่อ

อบต.พระเสาร์
 อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

Phrasao (SAO) 

 

 

 

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
verified_user กฎหมายเกี่ยวกับอบต
มารู้จักกฏหมายเกี่ยวกับอบต.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ อบต. การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง ในการปฏิบัติและองค์การบริหารส่วน ซึ่งตำบลบัญญัติตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล นอกจากจะกำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงแล้วยังมีกฏหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ให้อำนาจที่แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลในฐานะราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้ 1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ตามกฏหมายควบคุมอาคารโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดให้ องค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่27ตุลาคม พ.ศ.2538 และมีและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 27 ธันวาคม 2538 ซึ่งในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ได้ให้อำนาจหน้าที่แก่ประธานกรรมการบริหารองค์การ บริหารส่วนตำบลในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้ 1. พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร ตามมาตรา 21 และ 22 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 รวมทั้งการรับแจ้งต่างๆเกี่ยวกับอาคารตามมาตรา 39 ทวิ 2. กรณีที่มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือ เคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวง หรือข้อบังคับท้องถิ่นที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายที่อื่นที่เกี่ยวข้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจดำเนินการดังนี้ (1) มีคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน ผู้ดำเนินงาน ลูกจ้าง หรือบริวารของบุคคลดังกล่าว ระงับการ กระทำดังกล่าว (2) มีคำสั่งห้ามมิให้บุคคลใดๆของอาคาร หรือบริเวณที่มีการกระทำดังกล่าว และจัดให้มีเครื่องหมายแสดงการห้ามนั้นไว้ ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย (3) การกระทำฝ่าฝืนดังกล่าวเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของ อาคารดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่า30วัน (4) กรณีไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ หรือเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนัก งานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงานหรือผู้ดำเนินรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ภายใน ระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่า30วัน 3. เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจออกข้อบังคับตำบลในส่วน ที่ยังมิได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดในเรื่องใดเกี่ยวกับ (1) ลักษณะ แบบ รูปทรง ส่วนสัด เนื้อที่ และที่ตั้งของอาคาร (2) การรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความงดงาม ตลอดจนลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ (3) การรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความคงทนของอาคารหรือพื้นที่รองรับอาคาร (4) แบบและวิธีการเกี่ยวกับการติดตั้งระบบการประปา ไฟฟ้า ก๊าซ และการป้องกันอัคคีภัย (5) แบบและจำนวนของห้องน้ำและส้วม (6) ระบบจัดการแสงสว่าง การระบายอากาศ การระบายน้ำ และการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (7) ลักษณะ ระดับ เนื้อที่ว่างภายนอกอาคาร หรือแนวอาคาร (8) ระยะหรือระดับระหว่างอาคารกับอาคาร หรือเขตที่ดินของผู้อื่นระหว่างอาคารกับถนน ตรอก ซอย ทางเท้า หรือที่สาธารณะ (9) พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกสำหรับรถ อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ตลอดจนลักษณะและขนาดของพื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นดังกล่าว (10) บริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารชนิดใดหรือประเภทใด (11) หลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร (12) หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการอนุญาต อายุใบอนุญาต การออกใบรับรอง และการออกใบแทน ตามพระราชบัญญัตินี้ 4. มีอำนาจในการแต่งตั้งนายช่างและนายตรวจเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารที่กำหนดในกฎกระทรวง (พ.ศ.2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 2. พระราชบัญญัติการสาธารณะสุข พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติการสาธารณะสุข พ.ศ.2535 ได้ให้อำนาจแก่องค์การบริหารส่วนตำบลในฐานะราชการส่วนท้องถิ่น และ ประธานกรรมการบริหารในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1. การกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอย ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่น โดยให้อำนาจออกข้อบังคับ ดังต่อไปนี้ (1) ห้ามการ ถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยนอกจากใน ที่ราชการ ส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้ (2) กำหนดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามที่หรือทางสาธารณะและสถานที่เอกชน (3) กำหนดวิธีเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอย หรือให้เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครอง อาคารที่ใดๆ ปฏิบัติให้ถูกต้องด้วย สุขลักษณะตามสภาพ หรือลักษณะการใช้อาคารหรือสถานที่นั้นๆ (4) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่นในการเก็บและ ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยไม่เกินอัตรา ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (5) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยเพื่อให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติ ตลอดจนกำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงตามลักษณะการให้บริการที่ผู้รับใบอนุญาตจะพึงเรียกเก็บได้ (6) กำหนดการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ 2. สุขลักษณะของอาคาร พระราชบัญญัติการสาธารณะสุข พ.ศ.2535 มาตรา 21 , 22 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของ ราชการส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับสุขลักษณะของอาคารไว้ดังนี้ (1) เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นว่าอาคารหรือส่วนอาคารใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งต่อเนื่องกับอาคาร มีสภาพ ชำรุดทรุดโทรม หรือปล่อยให้มีสภาพรกรุงรังจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย หรือมีลักษณะไม่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ของการใช้เป็นที่อยู่อาศัย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารนั้นจัดการแก้ไข เปลี่ยนแปลง รื้อถอน อาคารหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งต่อเนื่องกับอาคารทั้งหมดหรือบางส่วน หรือจัดการอย่างอื่นตามความจำเป็น (2) เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าอาคารใดมีสินค้า เครื่องเรือน หรือสัมภาระสะสมไว้มากเกินสมควร หรือจัดเก็บ สิ่งของเหล่านั้น ซ้ำซ้อนกันเกินไปจนอาจเป็นเหตุที่อยู่อาศัยของสัตว์ให้โทษใดๆ หรืออาจเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองย้ายสินค้า เครื่องเรือนสัมภาระออกจากอาคารนั้น หรือให้ จัดสิ่งของเหล่า นั้นเสียใหม่เพื่อมิให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือให้ถูกต้องด้วย สุขลักษณะหรือให้กำจัดสัตว์ซึ่งเป็น พาหนะของโรคภายในเวลาที่กำหนด ให้ตามสมควร 3. เหตุรำคาญ (1) มาตรา26แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณะสุข พ.ศ.2535 ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการห้ามผู้ใดผู้ใด ผู้หนึ่งก่อเหตุความรำคาญในที่หรือทางสาธารณะ หรือสถานที่เอกชน รวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษาถนน ทางบกทางน้ำ ทางระบายน้ำ คู คลอง และสถานที่ต่างๆได้ (2) ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควร ที่ระบุไว้ในคำสั่ง หรือกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญ เกิดขึ้นในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งได้ ในกรณีที่ไม่มีการ ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจระงับเหตุ รำคาญนั้นๆ และอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญขึ้นอีกและถ้าเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกจาการกระทำ การละเลย หรือการยินยอมของเจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักท้องถิ่นว่า เหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่เอกชนอาจเกิดอันตราย อย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสม กับการดำรงชีพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคำสั่งเป็นหนังสือมิให้เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองใช้หรือยินยอม ให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับ เหตุรำคาญนั้นแล้วก็ได้ 4. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ มาตรา30แห่งพระราบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ให้อำนาจเจ้า พนักงานท้องถิ่น ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะโดยไม่ ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานของท้องถิ่นมีอำนาจ กักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อย30วัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยัง ไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน ให้สัตว์นั้นตก เป็นของราชการส่วนท้องถิ่น แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงาน ส่วนท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขาย ทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่นถึงเวลากำหนดดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่า ใช้จ่ายในการขายหรือขาย ทอดตลาดและค่า เลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือมิได้ขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่ง และเจ้าของมาขอรับคืนสัตว์ภายในกำหนดตามเวลา วรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับ การเลี้ยงดูสัตว์แก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ ปรากฏว่ามีสัตว์ที่เจ้าพนักงานพบนั้นเป็นโรคติดต่อ อันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการ ตามที่เห็นสมควรได้ 5. กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ให้อำนาจแก่ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบังคับตำบล (1) กำหนดประเภทของกิจการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพบางกิจการหรือ ทุกกิจการ ให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่น (2) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับให้ผู้ดำเนินกิจการตาม (1) ปฏิบัติตามดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ ใช้ดำเนินกิจการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ นอกจากนั้น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535ยังได้กำหนดกำหนดหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในฐานะราชการส่วนท้องถิ่นในเรื่องอื่นๆ ได้แก่ ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานที่สะสมอาหาร การจำหน่ายสินค้าในที่หรือ ทางสาธารณะไว้ด้วย และเพื่อปฏิบัติการเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา44 ยังไดกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) มีหนังสือเรียกบุคคลใดๆมาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำข้อชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสารหลักฐาน ใดๆเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อประกอบการพิจารณา (2) เข้าไปในสถานที่ใดๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ หรือ ควบคุมให้เป็นไปตามข้อกำหนดของท้องถิ่น หรือตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหนังสือ รับรองการแจ้ง หรือหลักฐานที่เกี่ยวจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้น (3) แนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติตามเงื่อนไขในใบอนุญาตหรือในหนังสือรับรอง การแจ้ง หรือตามข้อกำหนดของถิ่น หรือตามพระราชบัญญัตินี้ (4) ยึดหรืออายัดสิ่งของใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาขน เพื่อประในการดำเนินคดีหรือนำไปทำลายในกรณี ที่จำเป็น (5) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใดๆที่สงสัยว่าไม่ถูกลักษณะ หรือจะก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใดๆ เป็นปริมาณตามสมควร เพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบตามความจำเป็นได้โดยไม่ต้องใช้ราคา ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ แต่งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติตามหน้าที่ดัง กล่าวของราชการ ส่วนท้องถิ่นนั้นใน เรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ 6.พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 กำหนดให้หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การปกครองท้องถิ่นมีกฎหมายกำหนด ให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นสำหรับในเขตราชการส่วนท้องถิ่นนั้น ดังนั้น ประธานกรรมการบริหารองค์การส่วนตำบล จึงเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า มาตรา9 กำหนดว่า ในที่สาธารณะ ถ้าปรากฏว่าสุนัขใดไม่มีเครื่องหมายประจำสัตว์ หรือ มีแต่เครื่องหมายประจำตัวปลอม ให้เจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นมีอำนาจจับสุนัขนั้นเพื่อกักขัง ถ้าไม่มีเจ้าของมารับคืนภายใน 5 วัน ให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจ ทำลายสุนัขนั้นได้ มาตรา10 กำหนดว่า เมื่อปรากฏว่าสุนัขใดมีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า ให้เจ้าของนั้นแจ้งต่อพนักงานท้องที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน24 ชั่วโมง นับแต่ที่พบว่าสุนัขนั้นมีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า มาตรา15 กำหนดว่า ในที่สาธารณะ ถ้าปรากฏว่าสุนัขใดมีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า ให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสัตว์ ควบคุมนั้นได้